(Root) 20081218-929-65687.jpg

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

๑.                  การเลือกแนวทาง

แนวทางขจัดความยากจนกับแนวทางสร้างความร่ำรวยต่างกันใน  ขณะที่แนวทางทางสร้างความร่ำรวยต่างกันใน  ขณะที่แนวทางสร้างความร่ำรวยนำไปสู่ความโลภและความไม่ยั่งยืน  แนวทางขจัดความยากจนนำไปสู่ปัญญา  การอยู่ร่วมกัน และความยั่งยืน

๒.                ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีพระมหาชนก

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

พระราชดำรัส                  ใครว่าเราเชยก็ช่างเขา  ขอให้เราพออยู่พอกินและมีไมตรีจิตต่อกัน

เชย              =          ไม่โมเดิร์น

พออยู่พอกิน   =             พอเพียง  ไม่จนกันทั่วหน้า

โมเดิร์น           หมายถึง  เศรษฐกิจกระแสหลักที่สร้างความร่ำรวย

เศรษฐกิจพอเพียง  จึงเป็นทั้ง

๑)     แนวทาง  ที่ไม่ใช่แนวทางสร้างความร่ำรวย  แต่เป็นแนวทางแห่งความพอเพียง  หรือแนวทางขจัดความยากจน

๒)    บอกสภาพว่าหายจนกันทั่วหน้า  พออยู่พอกิน

๓)    ไม่ใช่เฉพาะเศรษฐกิจแบบตัวใครตัวมันเท่านั้น แต่เป็นสังคมที่มีไมตรีจิตต่อกันด้วย

ทฤษฎีพระมหาชนก

พระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระทัยมีพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มาก  พระราชทานฝากไว้ให้เป็นหลักในวิถีชีวิตของคนไทย  ถ้าอ่านพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกอย่างพินิจพิจารณาจะจับหลักในวิถีชีวิต  เพื่อนำไปสู่ชีวิตและสังคมที่ดีได้ ๕ ประการ

ดังนี้

 

(๑)  การพึ่งตนเอง

พ่อค้า ๗00 คน  อ้อนวอนให้เทวดาช่วยแล้วตายหมด  พระมหาชนกไม่อ้อนวอนเทวดา

(๒)  ความเพียรอันบริสุทธิ์

ไม่เห็นฝั่งแล้วยังเพียรว่ายน้ำอยู่อีก (บางคนเมื่อมองไม่เห็นอนาคต

ทอดทิ้งความเพียรแล้ว)

     ความมหัศจรรย์ผุดบังเกิดได้จากการทำความดี

มีเทวดามาช่วยเพราะทำความดี  หมายถึง  การทำความดีทำให้เกิดความสำเร็จอันเป็นมหัศจรรย์ได้ ตรงกับ การผุดบังเกิด หรือ Emergence  ในทฤษฎีแห่งความซับซ้อน

(๓)  การอนุรักษ์และเพิ่มพูน ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน

คนโง่โค่นต้นมะม่วงเพื่อเอาผลมะม่วงแล้วก็ไม่มีอะไรจะกินอีกต่อไป

(๔) การมีปัญญาออกจากโมหภูมิ

คนทั้งปวงล้วนตกอยู่ในโมหภูมิ คือ ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี แล้วสร้างสังคมที่โง่เขลา (เมืองอวิชชา)  เต็มไปด้วยความชั่วร้าย ทำร้ายกัน

 

 

(๕)การมีมหาวิชชาลัยไม่ใช่มีแค่มหาวิทยาลัยเท่านั้น

การศึกษาต้องนำไปสู่การมีปัญญาออกจากโมหภูมิ วิชชา ในทางพุทธ หมายถึง ปัญญาซึ่งไม่เลยความรู้ (วิทยา)

 

๓.                 เบญจลักษณ์ของสังคมเศรษฐกิจพอเพียง  และการพัฒนาที่ยั่งยืน

ลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงจึงมีความพอเพียง ๕ ดังนี้

               

(๑)  เศรษฐกิจพอเพียง

หายจน  พออยู่พอกินถ้วนหน้า

 

(๒)  สังคมพอเพียง

คิดถึงการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน มีไมตรีจิตต่อกัน เป็นสังคม รู้รักสามัคคี ไม่เบียดเบียนและทำร้ายกัน

(๓) ทรัพยากรธรรมชาติพอเพียง

อนุรักษ์และเพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติ มีการใช้อย่างเป็นธรรม และยั่งยืน

 

(๔) มีปัญญาพอเพียง

ไม่โลภ มีไมตรีจิต พึ่งตนเอง  วิริยะ  อนุรักษ์ทรัพยากร

 

(๕) มีระบบการศึกษาที่สร้างปัญญาพอเพียง (มหาวิชชา) อย่างต่อเนื่อง

ต้องมีระบบการศึกษาที่ป้องกันคนกลับไปตกอยู่ในโมหภูมิอีก การมีแค่มหาวิทยาลัยสอนความรู้ไม่พอ  แต่ต้องเป็นมหาวิชชาที่นำคนออกจากโมหภูมิ

 

                ลักษณะสังคม ๕ ประการ หรือ เบญจลักษณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นสังคมที่ขจัดความยากจน และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีพระมหาชนกจึงสามารถนำมาเป็นหลักในการทำยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

 

๔.                 ตัวทำลายเศรษฐกิจพอเพียง

ตัวทำลายเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทุนนิยมข้ามชาติที่อาศัยโลภจริตเป็นตัวขับเคลื่อนและใช้อำนาจและเครื่องมือไปบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ เปิดเสรีให้ทุนขนาดใหญ่เข้าไปทำการได้อย่างเสรี ก่อให้เกิดการทำลายเบญจลักษณ์ที่ กล่าวถึงข้างต้น กล่าวคือ

 

(๑)   ทำลายเศรษฐกิจพอเพียง

ช่องว่างทางเศรษฐกิจถ่างกว้างมากขึ้นๆ

 

(๒)  ทำลายสังคมพอเพียง

สังคมแตกสานซ่านเซ็น  ตัวใครตัวมัน ทำร้ายแย่งชิงกัน

 

(๓)  ทำลายทรัพยากรพอเพียง

ทำลายทรัพยากรเพื่อเปลี่ยนไปเป็นเงิน  จะได้ดูดได้ง่าย ๆ

 

(๔)  ทำลายปัญญาพอเพียง

ทำให้เกิดความโลภ แย่งชิงกันหวังพึ่งพิงต่างชาติ  ไม่ใช้ความเพียร  อันบริสุทธิ์  หวังรวยทางรัด

(๕) มีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมให้คนทั้งปวงตกอยู่ในโมหภูมิ

เพราะไปลอกวิถีคิดเขามา

 

 

ระบบทุนนิยมข้ามชาติจึงทำลายเศรษฐกิจพอเพียงอย่างรุนแรง  ฉะนั้นในยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงต้องพยายามป้องกันผลร้ายจากเศรษฐกิจทุนนิยมข้ามชาติ และพยายามปรับให้เป็นทุนนิยมชาติที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ   พอเพียง

 

๕.                 แนวทางขจัดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

(๑)   ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงให้เต็มพื้นที่

(๒)  จำกัดและลดการทำลายจากเศรษฐกิจทุนนิยมข้ามชาติและปรับมาสู่ทุนนิยมชาติที่ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

 

๖.                  กลวิธีในยุทธศาสตร์ขจัดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๑0 ประการ

 

(๑)    รณรงค์สร้างคนเข้าใจอย่างกว้างขวาง

เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นร่วมกัน

(๒)  ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในทุกพื้นที่โดยใช้หลัก AFP

ทุกชุมชนท้องถิ่นหายจน สังคมเข้มแข็ง ปลอดภัย อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้

(๓)โยงเศรษฐกิจมหภาคกับเศรษฐกิจพอเพียงให้เกื้อกูลกัน

เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุล

(๔)ค้นหาและเยียวยากลุ่มเสี่ยงด้วยมาตรการพิเศษ ป้องกันและบรรเทาผลกระทบภัยพิบัติต่อคนจน

เพื่อบรรเทาปัญหา

(๕) ลดการเสียดุลกับต่างชาติและภายใน

เพื่อความสมดุล

(๖)ปฏิรูปกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม

 

(๗) กระบวนการนโยบายเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

(๘)ปรับระบบการศึกษาให้เป็นกลไกการแก้ความทุกข์ยากของคนทั้งประเทศ

 

(๙)  ระบบสมองของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์

 

(๑0) การบริหารยุทธศาสตร์

 

 

 

๗.                ขยายความกลวิธีทั้ง ๑๐ ดังนี้

(๑)  รณรงค์สร้างความเข้าใจอย่างกว้างขวาง

        ควรมีสิ่งพิมพ์ที่มีพลังของการอธิบาย มีการใช้สื่ออื่นๆ  มีการประชุมต่างๆ  เป็นสมัชชาจังหวัด สมัชชาแห่งชาติ  สมัชชาเฉพาะเรื่อง  หาผู้รับผิดชอบหลักในกลวิธีนี้

 

 

(๒)   ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในทุกพื้นที่โดยใช้หลัก AFP

      ส่งเสริมการพัฒนาอย่างบูรณาการในทุกจังหวัด  และทุกตำบลโดยการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ  ให้มีสัมมาอาชีวะ มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีการรวมตัวร่วมคิด ร่วมทำ และเรียนรู้ต่อเนื่องทำให้ขจัดความยากจนได้หมดเต็มพื้นที่ มีความปลอดภัย และมีความยั่งยืน

      ใช้หลัก AFP (Area, Function, Participation)  คือ ไม่ใช้กรมเป็นตัวตั้ง แต่ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง  โดยทุกฝ่ายร่วมมือกัน  ทั้งนี้ต้องปฏิรูปการจัดงบประมาณ  และส่งเสริมความสามารถในการจัดการของท้องถิ่น  การกระจายอำนาจและกระจายงบประมาณให้ท้องถิ่นไม่พอ  แต่ท้องถิ่นต้องมีความสามารถในการจัดการ  เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน น่าจะมีโครงการส่งเสริมและรับรองคุณภาพการจัดการของท้องถิ่น  ซึ่งต่อไปอาจพัฒนาไปเป็นสถาบันส่งเสริมและรับรองคุณภาพการจัดการของท้องถิ่น  (คจท.)

พัฒนาเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียง แล้วใช้วัดซ้ำ ๆ จะเป็นเครื่องปรับพฤติกรรมของสังคมไปสู่การมีเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นเป็นลำดับ

(๓)  โยงเศรษฐกิจมหภาคกับเศรษฐกิจพอเพียงให้เกื้อกูลกัน

        เดิมเศรษฐกิจมหภาคพึ่งพิงต่างชาติมากเกิน   และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควรจะปรับเปลี่ยนให้เศรษฐกิจมหภาคมาเชื่อมโยงกับฐานความเป็นไทยให้มากขึ้นทั้งทุนไทย วัฒนธรรมไทย  ฐานทรัพยากรไทย  ชุมชนไทย  ความสามารถในการแข่งขันจะเข้มแข็งก็ต่อเมื่ออยู่บนฐานที่เข้มแข็ง

 ในการนี้ต้องการแผนที่ ทุนไทย เช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ  ความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ซึ่งรวมถึงความรู้ว่าชุมชนใดมีใครทำอะไรเก่งบ้าง  ซึ่งเป็นศักยภาพของชุมชน  ในการนี้ควรให้มหาวิทยาลัย สถาบันราชภัฎ สถาบันราชมงคลรวมตัวกันวิจัยโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง  แล้วเชื่อมต่อเศรษฐกิจมหภาคเศรษฐกิจชุมชนให้เกื้อกูลกัน

(๔)  ค้นหาและเยียวยากลุ่มเสี่ยงด้วยมาตรการพิเศษ  ป้องกันและบรรเทาผลกระทบภัยพิบัติต่อคนจน

        ต้องมีการค้นหากลุ่มที่ถูกหลงลีมหรือกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการขจัดความยากจนและมีการเยียวยาด้วยมาตรการพิเศษ  เช่น สวัสดิการสังคม การพัฒนาฝีมือแรงงาน การฝึกอาชีพ การจัดที่ทำกิน

คนจนเมื่อโดยภัยพิบัติ เช่น ไฟไหม้  ลมพายุ น้ำท่วม จะมีผลกระทบมาก ระยะหลังมีน้ำท่วมบ่อยขึ้น และเป็นบริเวณกว้างขึ้น  ซึ่งทำลายเศรษฐกิจของเกษตรกรเป็นอย่างมาก  ควรมีมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วม

(๕)  ลดการเสียดุลกับต่างชาติ

        ด้วยระบบเปิดการค้าเสรี  ประเทศที่มีทุนมากกว่า มีประสบการณ์มากกว่า มีความสามารถในการจัดการมากกว่า  ย่อมดูดทรัพยากรจากประเทศที่ด้อยกว่า จนเกิดการเสียดุลอย่างรุนแรงควรจะมีมาตรการต่างๆ ที่ลดการเสียดุล เช่น

       ๕.๑   ความนิยมไทย   เป็นการใช้วัฒนธรรมและความรักชาติเข้าต่อสู้ ถึงองค์การค้าโลก (WTO) จะห้ามโน่นห้ามนี่แต่เขาห้ามไม่ให้คนไทยรักชาติไม่ได้  ทำความนิยมไทยให้เกิดขึ้นเป็นกระแสแห่งชาติ  ไทยทำ ไทยใช้ ไทยขาย ให้เราประหยัดการสูญเสียให้ต่างชาติสักปีละ ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี เงิน ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทจะกระตุ้นการผลิต การแปรรูป บริการ  การค้า วิชาการ ให้ไทยพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ  สมุนไพรเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม  ขมิ้นชันแก้ปวดท้องได้ดีกว่ายาฝรั่ง  และยังป้องกันมะเร็งด้วย ถ้าคนไทยทุกบ้านมีขมิ้นชัน  และยาสมุนไพรอย่างอื่นที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี เป็นยาประจำบ้าน  จะไปส่งเสริมการปลูกของเกษตรกร การผลิตเป็นยา และการค้า  ดังนี้เป็นต้น

      ๕.๒ การคุ้มครองรายย่อย  ขณะนี้ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่กำลังทำลายการค้ารายย่อยพังทลายอยู่ทั่วไป ควรมีการป้องกันคุ้มครองรายย่อย  ด้วยการหาช่องทางทางกฎหมาย  กฎ  ระเบียบ และการส่งเสริมแฟรนไชส์รายย่อย เพื่อรายย่อย  โดยการส่งเสริมความสามารถในการจัดการ  อาจจัดให้มีสถาบันส่งเสริมธุรกิจรายย่อยเป็นเครื่องมือ  ควรส่งเสริมให้มีร้านค้าที่เชื่อมโยงผู้ผลิตในชนบทกับผู้บริโภคในเมืองให้เกื้อกูลกัน เป็นต้น

       ๕.๓ ตั้งสถาบันยุทธศาสตร์ชาติ  มีหน้าที่ศึกษาให้ความรู้ความเป็นไปของโลกทั้งหมด  เพื่อให้คนไทยรู้เท่าทันและกำหนดยุทธศาสตร์การต่อสู้ไม่ให้เราเสียเปรียบต่างชาติมากเกิน และตกเป็นทาสทั้งทางปัญญา และทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปสู่การสูญเสียอธิปไตยหรือความสามารถในการกำหนดอนาคตของเราเอง

       ๕.๔ การขจัดคอร์รัปชั่น  และการสูญเสียไปในทางอื่น ๆ ที่ทำให้สาธารณะเสียดุล

                      (๖)   ปฏิรูปกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม

                                ใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลัก ปฏิรูปกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม ความเข้มแข็งของชุมชนสิทธิชุมชนการใช้ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน  การป้องกันการเอาเปรียบจากต่างชาติ  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การจัดการโครงการขนาดใหญ่ที่จะไม่ให้มีผลกระทบต่อฐานชีวิตของคนจน  รวมทั้งแก้ไขกฎหมายอื่นใดที่มีผลกระทบต่อคนจน เป็นต้น

                        (๗)  กระบวนการนโยบายเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                                นโยบายสาธารณะที่ดี (Healthy Public Policies)  ที่อาศัยฐานความรู้  เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  แต่เกิดขึ้นและประยุกต์ใช้ได้ยาก  จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการนโยบายที่อาศัยการสังเคราะห์ความรู้เป็นนโยบาย  โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  กระบวนการนโยบายจะเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง  และการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่ความสำเร็จ

                       (๘)  ปรับระบบการศึกษาให้เป็นกลไกแก้ความทุกข์ยากของคนทั้งชาติ

                                ระบบการศึกษาเป็นระบบใหญ่มาก  แต่เป็นระบบที่อยู่นอกสังคม คือ  ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับสังคม ไม่ร่วมทุกข์  ร่วมสุขกับสังคม ไม่ร่วมแก้ปัญหา จึงอ่อนแอ  บุคคลหรือองค์กรที่จะเข้มแข็งทางปัญญาต่อเมื่ออยู่ในปัญหาและพยายามแก้ปัญหา ระบบการศึกษาของเราทั้งหมดเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาความจริงของสังคมไทยเป็นตัวตั้งจึงอยู่นอกสังคม ถ้าปรับระบบการศึกษาให้เป็นระบบที่อยู่ในสังคม  จะเป็นพลังมหาศาลแก่ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  วิธีหนึ่ง คือ สนับสนุนให้มหาวิทยาลัยวิจัยโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง

                                เรื่องยุทธศาสตร์ทางปัญญาเพื่ออนาคตของประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่อีกยุทธศาสตร์หนึ่ง  ซึ่งเขียนไว้ต่างหาก  (ปาฐกถา ที่ มศว. ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖)

                       (๙)    ระบบสมองของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                                ยุทธศาสตร์ใด ๆ จะขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จได้ต้องมีระบบสมอง ระบบสมองคือ ระบบวิจัยสร้างความรู้และนำความรู้มาสู่การเรียนรู้ร่วมกัน ถ้าปราศจากความรู้และการเรียนรู้ร่วมกันยุทธศาสตร์นั้น ๆ ก็ไม่มีทางสำเร็จ ต้องมีระบบวิจัยในยุทธศาสตร์ขจัดความยากจน  หรือเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาอย่างยั่งยืน เรื่องนี้ควรมอบให้ สกว.รับผิดชอบเพราะ มีความสามารถในการจัดการการวิจัยเรื่องนี้

                                การวิจัยอย่างหนึ่ง คือ การประเมินชุมชนเข้มแข็ง  เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน และการทำดรรชนีวัดเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

                       (๑๐) การบริหารยุทธศาสตร์

                                การมีแผนและปล่อยต่างคนต่างไปทำตามแผนไม่ได้ผล จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์และการบริหารยุทธศาสตร์

ก.        หลักการ

๑.                ลัก สามเหลี่ยมเยื้อนภูเขา  คือ เชื่อมโยงมุม ๓ มุมของสามเหลี่ยม ดังนี้

 

 

๑. การวิจัยสร้างความรู้ที่เกี่ยวข้อง


       

 

 

 

 

 

 

 

๒. การเคลื่อนไหวทางสังคม

๓. การเชื่อมโยงกับการเมือง

 

 

 

 


๒.               สร้างความเป็นเอกภาพระหว่างนโยบายยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติ  โดยมากจะมีความเข้าใจ และ

ปฏิบัติต่าง ๆ กันไป  ต้องทำความเข้าใจในนโยบายยุทธศาสตร์และการปฏิบัติร่วมกัน และใช้ผลการวิจัยสถานการณ์ การประเมินผล การสังเคราะห์ความรู้  ซึ่งรวมเรียกว่า  ความรู้มาสู่การเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย  ที่เรียกว่าใช้การเรียนรู้เป็นตัวเดินเรื่องให้เกิดความเป็นเอกภาพระหว่างนโยบายยุทธศาสตร์และการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา  ถ้าจัดการเรียนรู้ได้ดี จะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของคนไทยครั้งใหญ่  เป็นการปฏิบัติการเรียนรู้ที่ใหญ่ที่สุด  เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน

๓.                 เป็นการขับเคลื่อนที่ปรับตัวได้อย่างต่อเนื่อง ตามหลักทางธุรกิจที่เขาเรียกว่า  PDCA (Plan  Do Check Act)  คือ วางแผน ปฏิบัติ ประเมินผลการปฏิบัติ เอาผลประเมินมาปรับการวางแผนและปฏิบัติอีก ให้วนรอบอย่างมีพลวัต  ไม่ปฏิบัติตายตัว แต่ละรอบที่ PDCA  หมุนไป  ขบวนการทั้งหมดจะฉลาดขึ้นและได้ผลดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

 

 

 

 

 

ข.       การจัดองค์การ

๑.       คณะกรรมการและเลขานุการ  ขณะนี้มีคณะกรรมการหลายชุมที่มีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายก    

รัฐมนตรีเป็นประธาน ควรมีความเชื่อมโยงของคณะกรรมการชุดต่างๆ  และมีคณะเลขานุการร่วม (Joint Secretariat)   เพราะวาระแห่งชาติ  ๔ เรื่อง ที่สภาพัฒน์ฯ ประกาศ คือ

                                                ๑.   ความสามารถในการแข่งขัน

                                                ๒.   เศรษฐกิจฐานรากหญ้า

                                                ๓.   ฐานทรัพยากร

๔.     ทุนทางสังคม

                                          ต้องเชื่อมโยงกันหมดจึงขจัดความยากจนได้และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

๒.    กระบวนการนโยบาย ควรมีความร่วมมือของภาคีต่างๆ เป็น ภาคีพันธมิตรเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีเวทีนโยบาย  มีการจัดสมัชชาในระดับและในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ

๓.     องค์การอิสระคู่ขนานและเชื่อมโยง    ทางภาครัฐทั้งทางการเมืองและทางราชการ จุดแข็งคือ มีอำนาจกฎหมาย  แต่มีจุดอ่อนที่ขาดความต่อเนื่อง  มีภารกิจยุ่งมาก และขาดความคล่องตัวที่จะเข้าถึงความละเอียดอ่อน ควรมีหน่วยจัดการความรู้ของรัฐที่เป็นอิสระ  ทำนองเดียวกับ สปรส. (สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ)  ขึ้นมาช่วยทำงาน อาจเรียกว่า สำนักงานส่งเสริมยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  สำนักงานนี้ไม่มีอำนาจ อำนาจอยู่ที่องค์กรตามข้อ ๑ แต่สำนักงานนี้ทำงานส่งเสริมความเชื่อมโยงและช่วยจัดกระบวนการนโยบายดังกล่าวในข้อ ๒ ข้างต้น อย่างต่อเนื่อง  ความไม่เป็นราชการทำให้มีความต่อเนื่อง ความต่อเนื่องทางปัญญา (Continuity of Wisdom)

 

        ๘.   การดำเนินงานต่อไป

(๑)              ทบทวนปรับปรุงเอกสารยุทธศาสตร์นี้จนเป็นที่พอใจแล้วพิมพ์ขึ้นไว้อยู่ในรูปใช้งาน

(๒)             ในกลวิธีแต่ละข้อมีกลุ่มผู้เกี่ยวข้องไปทำแผนปฏิบัติ  ซึ่งจะปรากฏองค์กรรับผิดชอบหลักชัดขึ้น

(๓)             มอบให้องค์กรหลักประสานการปฏิบัติในแต่ละกลวิธี

(๔)             คณะกรรมการสนับสนุนทางทรัพยากร กฎหมาย กฎระเบียบ และการสั่งการให้แต่ละกลวิธีดำเนินไปได้

(๕)             ประเมินความก้าวหน้าของการปฏิบัติ รวมทั้งการใช้ดรรชนีวัดระดับของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                                               

                                                (ทั้งหมดนี้เป็นเพียงยกร่างอย่างเคร่า ๆ เพื่อระดมความคิด)

 

 

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...